วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบน้ำเหลืองกับการรักษาดุลยภาพของร่างกาย

ระบบไหลเวียนโลหิต ประกอบไปด้วย หัวใจหรือเครื่องสูบฉีดเลือด หลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำ และหลอดเลือดฝอย ระบบเส้นเลือดหัวใจบางครั้งเรียกว่าระบบหมุนเวียนเลือด blood-vascular system ระบบหมุนเวียนประกอบด้วย ระบบไหลเวียนเลือดและน้ำเหลือง ระบบน้ำเหลืองประกอบด้วยท่อน้ำเหลืองและต่อมน้ำเหลือง น้ำเหลืองมีลักษณะเป็นของเหลว ท้ายที่สุดก็จะถูกส่งเข้าไปในกระแสเลือด สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลัง จะมีไขกระดูกที่ทำหน้าที่ในสร้างเลือดและน้ำเหลือง เรียกว่าขบวนการ Hematopoiesis สรีรวิทยาระบบไหลเวียนเลือด เป็นการบรรยายโครงสร้างและการทำงาน ของระบบการหมุนเวียนของเลือดในสัตว์ สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังจะมีระบบการไหลเวียนของเลือดหลายอย่างที่แตกต่างกันไป และจะเกี่ยวข้องกับการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมภายในของสัตว์แต่ละชนิด ระบบการไหลเวียนเลือดของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ประกอบไปด้วย หัวใจทำหน้าที่ในการสูบฉีดเลือด และส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายผ่านหลอดเลือด ระบบหมุนเวียนโลหิตมีหน้าที่ในการนำเอาเลือดซึ่งมีปริมาณ O2 สูง (Oxygenated blood) ไปสู่เยื่อจากนั้นจะรับเอาเลือดซี่งมีปริมาณ CO2 สูง ออกจากเนื้อเยื่อกลับเข้าสู่หัวใจแล้วผ่านปอดต่อไป ระบบไหลเวียนเลือดเป็นการทำงานที่ซับซ้อนและเกี่ยวพันกันระหว่างเส้นเลือดแดง เส้นเลือดดำ และต่อมน้ำเหลือง

สิ่งมีชีวิตที่ไม่มีระบบไหลเวียนโลหิต
ตัวอย่างสัตว์ที่ไม่มีระบบไหลเวียนโลหิต เช่น
หนอนตัวแบน ไม่มีช่องว่างภายในลำตัว ตัวมีปากซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของระบบย่อยอาหาร ซึ่งแตกแขนงอย่างมาก ด้วยความแบนของตัว ทำให้อาหารที่ถูกย่อยเรียบร้อยแล้วสามารถแพร่เข้าสู่เซลล์อื่นๆ ได้อย่างทั่วถึงทุกเซลล์ นอกจากนี้ ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส ออกซิเจนสามารถแพร่จากน้ำเข้าสู่เซลล์ได้ และเนื่องจากทุกเซลล์ได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม จึงไม่ต้องอาศัยการลำเลียงน้ำและแก๊สออกซิเจน

ระบบไหลเวียนเลือดแบบเปิด
ระบบการไหลเวียนแบบเปิด (open circulatory system) พบใน
สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังโดยเฉพาะไฟลัมอาร์โทรโพดา และไฟลัมมอลลัสกา ระบบนี้เลือดจะไม่ได้อยู่ในเส้นเลือดตลอดเวลา แต่จะออกจากเส้นเลือดเข้าสู่ช่องว่างภายในลำตัวที่เรียกว่าฮีโมซีล (hemocoel) อาจมีหัวใจหนึ่งดวงหรือมากกว่า ทิศทางการไหลของเลือดเริ่มจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปตามหลอดเลือดเข้าสู่ฮีโมซีล เนื้อเยื่อและเซลล์จะ

ระบบไหลเวียนโลหิตแบบปิด
ระบบไหลเวียนโลหิตแบบปิด มีอวัยวะที่สำคัญในระบบ คือ
หัวใจ เลือด และหลอดเลือด) พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิด เช่น ไส้เดือนและหมึก เลือดไหลในเส้นเลือดตลอดเวลา ใช้แรงดันมากว่าการไหลเวียนระบบเปิด
สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังทุกชนิดมีระบบไหลเวียนแบบนี้ นอกจากนี้ ไส้เดือนดินและหมึกก็ยังมีระบบไหลเวียนโลหิตแบบนี้อีกด้วย ระบบนี้ เลือดจะไม่ไหลออกไปนอกหลอดเลือด ซึ่งประกอบไปด้วย
อาเทอรี่เวนและหลอดเลือดฝอย ระบบไหลเวียนโลหิตในปลาเป็นระบบไหลเวียนที่มีทิศทางเดียว คือหัวใจสูบฉีดเลือดไปที่เส้นเลือดฝอยที่เหงือก หัวใจปลามีสองห้องและการไหลเวียนของเลือดมีทิศทางเดียวสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลานมีระบบนี้เช่นกัน แต่หัวใจของสัตว์สองชนิดนี้ทำงานได้ไม่เต็มที่ โดยที่สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ มีหัวใจ 3 ห้องส่วนนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีการแบ่งอย่างชัดเจนระหว่างเลือดแดงกับเลือดดำ โดยแบ่งหัวใจออกเป็น 4 ห้อง หัวใจเต้น 72 ครั้งต่อนาที เลือด มีส่วนเป็นของเหลว 55% มีส่วนเป็นของที่ไม่เหลวอีก45%
ความดัน ความดันปกติของเพศชายคือ 120/80ม. ความดันปกติของเพศหญิงคือ 110/70ม. โรคความดันเกิดขึ้นกับคนอ้วนได้ง่าย


เลือด (blood)
ประกอบด้วย
1. น้ำเลือด (plasma) ประกอบด้วยน้ำประมาณร้อยละ 91 ส่วนอื่น ๆ ได้แก่ โปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ เอนไซม์ และแก๊ส
2. ส่วนที่เป็นของแข็ง ประกอบด้วย เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด

เซลล์เม็ดเลือดแดง มีส่วนประกอบเป็นโปรตีนที่มีเหล็กเป็นองค์ประกอบ เรียก เฮโมโกลบิน (haemoglobin) แก๊สออกซิเจนที่ได้จากการหายใจเข้าจะรวมกับเฮโมโกลบิน แล้วถูกลำเลียงไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เซลล์เม็ดเลือดแดง มีอายุประมาณ 100-120 วัน หลังจากนั้นถูกทำลายที่ตับและม้าม
เซลล์เม็ดเลือดขาว มีขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่ต่อสู้เชื้อโรคโดยการกินเชื้อโรค เมื่อเชื้อโรคตาย เม็ดเลือดขาวจะตายกลายเป็นหนอง
เกล็ดเลือด จะช่วยทำให้เลือดแข็งตัว เมื่อเลือดออกสู่ภายนอกร่างกาย และช่วยห้ามเลือดในกรณีที่เกิดบาดแผล
หลอดเลือด
แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1.หลอดเลือดแดง (artery)
2.หลอดเลือดดำ (vein)
หลอดเลือดแดง (artery) คือหลอดเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจ หลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ที่สุด เรียก เอออร์ตา (aorta) ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 เซนติเมตร และไหลไปตามหลอดเลือดแดงขนาดเล็กลง เรียก หลอดเลือดแดงเล็ก เรียก อาร์เตอริโอล (arteriole) ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.2 มิลลิเมตร และเลือดเข้าสู่หลอดเลือดฝอย ซึ่งเป็นหลอดเลือดที่เชื่อมต่อกับ หลอดเลือดดำเล็ก (venule) และไหลไปตามหลอดเลือดดำขนาดเล็กไปจนถึงหลอดเลือดดำขนาดใหญ่ที่สุด คือ เวนาคาวา (vena cava) เพื่อเข้าสู่หัวใจ
การไหลเวียนเลือดผ่านหัวใจ
เริ่มจากเลือดจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายซึ่งเป็นหลอดเลือดดำ หรือเลือดที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำไหลกลับเข้าสู่หัวใจทางห้องบนขวา (right atrium) เมื่อหัวใจบีบตัวเลือดจะไหลจากห้องบนขวาผ่านลิ้นหัวใจลงสู่ห้องล่างขวา (right ventricle) เมื่อหัวใจห้องล่างขวาบีบตัว เลือดจะไหลเข้าสู่หลอดเลือดไปยังปอด ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการแลกเปลี่ยนแก๊สจากเลือดดำ (เลือดที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำ) ให้เป็นเลือดแดง (เลือดที่มีปริมาณออกซิเจนสูง) แล้วไหลกลับสู่หัวใจห้องบนซ้าย (left atrium) เมื่อหัวใจห้องบนซ้ายบีบตัว เลือดจะไหลผ่านลิ้นหัวใจลงสู่ห้องล่างซ้าย (left ventricle) เมื่อห้องล่างซ้ายบีบตัว เลือดจะไหลเข้าสู่หลอดเลือดแดงไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นเป็นเลือดที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำไหลกลับสู่หัวใจเช่นนี้
เรื่อย ๆ

11 ความคิดเห็น:

  1. ปฏิทินสวยจัง

    ตอบลบ
  2. สวยจังเลย

    ตอบลบ
  3. น่ารักมากเลยคะ...........

    ตอบลบ
  4. blog จัดเรียงได้สวยดีนะ

    ตอบลบ
  5. blog พื้นหลังสวยจัง

    ตอบลบ
  6. ภาพพื้นหลังสวยจัง

    ตอบลบ
  7. เมาส์สวยจังคะ

    ตอบลบ
  8. ไม่ระบุชื่อ7 พฤษภาคม 2555 เวลา 21:15

    เพจน่ารักดีจัง^^ สร้างยังไงอะคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ทำไม่ค่อยเป็นเหมือนกันค่ะ ศึกษาเอาจากพวกเว็บไซต์อ่ะคะ

      ลบ

blogสวยดีนะ

หัวใจ